วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ออกกำลังกายให้ดี..ต้องมีเหงื่อจริงหรือไม่

การออกกำลังกายนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่ทำให้หลายๆคนคิดไปว่าออกกำลังจะดีได้นั้น ต้องออกเยอะและเหงื่อต้องออกเยอะด้วย ยิ่งเยอะยิ่งดี ความคิดนี้เป็นความคิดที่ถูกต้องหรือไม่
ความเชื่อแบบนี้ถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นภายในเซลล์จะเกิดได้เฉพาะการออกกำลังกาย เท่านั้น แต่การที่ออกกำลังกายแล้วเหงื่อโชก เป็นเพราะว่าเมื่อร่างกายของเราถูกความร้อนมากระทบทำให้เกิดการหลั่งของ เหงื่อ เพื่อเป็นการระบายความร้อนเท่านั้นเอง ไม่ได้หมายความว่าพลังงานถูกใช้ไปมากมายตามปริมาณของเหงื่อ ดังนั้น การเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือว่าทำงานบ้าน เพียงแค่ออกแรงอย่างต่อเนื่อง 30 นาที และทำให้ได้ทุกวัน ก็จะถือว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำงานหนักๆและมีเหงื่ออกมากเสมอไป
ดังนั้นก็แสดงว่า ออกกำลังก็ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายวันละนิดวันละหน่อย ถึงแม้จะมีเหงื่อไม่มาก ก็ถือว่าเป็นผลดีต่อสุขภาพของคุณแล้ว

สวยด้วย...กล้วย

กล้วย ไม่ว่าจะกล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ล้วนให้คุณค่าด้านสุขภาพกับเราทั้งสิ้น จะกินก็ได้ จะเอามาทำสวยก็ดี สำหรับสาวผิวแห้ง ผมแห้ง กล้วยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาได้

สำหรับสาวผิวแห้ง กล้วยจะช่วยบำรุงให้ผิวชุ่มชื่นขึ้นได้ เพราะโปรตีนและไขมันตามธรรมชาติ ทั้งนี้ยังช่วยลบริ้วรอยด้วย ส่วนคนที่มีปัญหาผมและหนังศีรษะแห้ง กล้วยจะเสริมความเงางาม และยังทำให้ผมมีน้ำหนักดีขึ้น
TENSION PNEUMOTHORAX


ภาวะทีมี air เข้าไปใน pleural cavity เพิมมากขึนเรือยๆ เป็นแบบ one way valve คือ ลมเข้าไปได้ แต่ออกมาไม่ได้ทำให้เกิด positive pressure ใน pleural cavity มากขึนเรือยๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากบาดแผลฉีกขาดของเนื้อปอด หลอดลมหรือผนังทรวงอก

tension pneumothorax
lung collapse,mediastinal shift
kinking of central veins
decrease venous return,cardiac output
shock,hypoxia

ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอก,หอบ,กระสับกระส่าย อาการเป็นมากขึนเรือยๆ จนกระทังซึมลง ผิวหนังเขียวคลา หมดสติ การตรวจร่างกายพบมีอาการแสดงคือ
- Dyspnea
- Cyanosis
- Engorged neck veins
- Elevated the affected chest wall,decrease movement
- Hyperresonance on percussion
- Trachea shift to contralateral side
- Decrease vocal resonance
- Hypotension
การรักษา
1. เป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉิน ห้ามส่งผู้ป่วยไปทำการ x-ray ต้องทำการรักษาทันที
2. ลด pressure ใน pleural cavity โดยใช้เข็มขนาดใหญ่ แทงทีบริเวณ intercostal space ที่ 2ในแนว
midclavicular line จะมีลมพุ่งออกมาด้วยความดันสูง ผ้ปู ่วยจะมีอาการดีขึนมากในทันที ความดันโลหิตสูงขึ
3. ใส่ intercostal chest drain ทีin tercostal space ที5 midaxillary line แบบ 1 ขวด ต่อลงใต้ระดับน้า2 ซม.
4. ถ้ามีบาดแผลทีหน้าอก ซึงอาจเป็นสาเหตุของ pneumothorax ให้ทำความสะอาดแล้วปิดด้วย vaseline gauze
ให้แน่น

น้ำตกคำหอม


 

ชื่อ         น้ำตกคำหอม
ภาค      ตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด    สกลนคร



 
สถานที่ตั้ง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

    น้ำตกคำหอมมีต้นน้ำมาจากเขาถ้ำดงลิง บนภูเขาเขียวเทือกเขาภูพาน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมากในจังหวัดสกลนครอีกแห่งหนึ่งและน้ำตกคำหอมจะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก บริเวณโดยรอบน้ำตกมีทัศนียภาพที่สวยงามร่มรื่นมีโขดหินมากมาย เหมาะแก่การนั่งพักผ่อนเป็นอย่างมาก จึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่พาครอบครัวมานั่งรับประทานอาหารในช่วงวันหยุดอีกทั้งระยะทางห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก

จุดที่น่าสนใจ

    บริเวณทางเข้าน้ำตกคำหอมเป็นสถานที่ที่สวยงามเป็นอย่างมากเพราะสามารถมองเห็นตัวเมืองสกลนครและหนองหารได้ จึงถือว่าเป็นจุดชมวิวที่สวยมากที่สุดของสกลนครเลยทีเดียว โดยถนนดังกล่าวนั้นมีความโค้งมากที่สุดในเส้นทางสกลนคร - กาฬสินธุ์ จึงเรียกว่า" ทางโค้งปิ้งงู" ในปัจจุบันได้มีการสร้างบริเวณดังกล่าวเป็นสวนหย่อมมีการปลูกต้นไม้นานาชนิดไว้ และมีการสร้างหลักกิโลเมตรที่ได้ชื่อว่าเป็นหลักกิโลเมตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นจึงมักมีผู้ที่ผ่านไปผ่านมาต้องแวะชมวิวหรือพักผ่อนเป็นประจำ
แต่ในปัจจุบัน๒-๓ ปีที่ผ่านมาป่าไม้ในเทือกเขาภูพานได้ถูกทำลายเป็นจำนวนมากจึงทำให้น้ำในน้ำตกคำหอมมีจำนวนน้อยลง หากเป็นฤดูร้อน จะไม่มีน้ำไหลเลย



 

สันญาณชีพ(vital sing)

สัญญาณชีพ   เป็นสิ่งที่บ่งบอก ความมีชีวิตของบุคคล เป็นเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัย,ประเมินการเลี่ยนแปลงของโรคและประเมินผลของการบำบัดรักษาที่สำคัญมากๆ
ลักษณะของสัญญาณชีพ
1.        อุณหภูมิ
2.        ชีพจร
3.        การหายใจ
4.        ความดันโลหิต
อุณหภูมิ(Temperature)
วัดทางปาก     มากกว่า          37.5  C    เรียกว่ามีไข้
                                 37.6  – 38.3  C     ไข้ต่ำๆ
                                 38.4  -  39.4  C     ไข้ปานกลาง
                                 39.5  -  40.5 C      ไข้สูง
                                 สูงกว่า  40.5 C       ไข้สูงมาก

ชีพจร( Pluse)
สังเกต ความสม่ำเสมอ ความหนัก เบา
ค่าปกติ  อยู่ในช่วง 60 – 100 ครั้ง/นาที


   การหายใจ( Respiration)
อัตราเฉลี่ย 20 ครั้ง/นาที  ไม่ควรเกิน 30 ครั้ง/นาที
สังเกต สีผิว ปาก เล็บ , ความลำบากในการหายใจ เช่น เสียง จมูกบาน


ความดันโลหิต(BP.)
แรงดันเมื่อหัวใจบีบตัว(Systolic)    90 – 140 mmHg
แรงดันเมื่อหัวใจคลายตัว(Diastolic)60 – 90 mmHg


การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ( Intramuscular injection )

 จุดประสงค์
•  ให้ยาดูดซึมได้เร็วกว่าการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
•  ให้ยาที่มีปริมาณมากกว่าการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
•  ลดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อเมื่อฉีดยาบางชนิด
เครื่องใช้
•  บันทึกการให้ยาของผู้ป่วย หรือการ์ดยาและคำสั่งการรักษา
•  ยาปลอดเชื้อ
•  ตัวทำละลาย เช่น น้ำกลั่นสำหรับผสมยา (ถ้าเป็นผง)
•  เข็มปลอดเชื้อ ขนาดเบอร์ 20 – 22 ขึ้นอยู่กับความข้นหนืดของยา ความยาวประมาณ 1 1/2 - 2 นิ้ว ขึ้นอยู่กับขนาดตัวของผู้ป่วย
•  กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อขนาดบรรจุ 2 – 5 มิลลิลิตร ขึ้นอยู่กับขนาดของยา
•  น้ำยายับยั้งเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% ทิงเจอร์ไอโอดีน 2.5%
•  สำลีปลอดเชื้อบรรจุในภาชนะปลอดเชื้อ
•  ปากคีมปลอดเชื้อ
•  ใบเลื่อยสำหรับเปิดยาหรือตัดหลอดยา
•  ชามรูปไต 1 ใบ สำหรับใส่ของที่ใช้แล้ว
•  ถาดใส่เครื่องใช้หรือรถเข็น
ตำแหน่งที่ฉีดยา
•  ตะโพกด้านข้าง ( ventrogluteal site )
•  ตะโพกด้านหลัง ( dorsogluteal site )
•  ต้นขาด้านข้าง ( vastus lateralis site )
•  ต้นขาด้านหน้า ( rectus femoris site )
•  ต้นแขนใกล้ไหล่ ( deltoid site )

วิธีหาตำแหน่งที่ฉีดยา
•  ตะโพกด้านข้าง ( ventrogluteal site ) วางฝ่ามือซ้ายลงบนบริเวณ greater trochanter ที่ตะโพกขวาให้นิ้วหัวแม่มือหันไปทางด้านศีรษะโดยนิ้วชี้ชี้ไปที่ anterior superior iliac spine กางนิ้วกลางออกไปให้กว้างที่สุด จะมีรูปลักษณะตัว V ขึ้น บริเวณที่ใช้ฉีดยาคือกึ่งกลางของตัว V
•  ตะโพกด้านหลัง ( dorsogluteal site ) โดยการแบ่งกล้ามเนื้อตะโพกออกเป็นสี่ส่วนบริเวณที่ฉีดยาได้ คือด้านบนสุดส่วนนอก หรือลากเส้นจาก posterior superior iliac spine ไปยัง trochanter ของกระดูกต้นขา ตรงจุดกึ่งกลางเหนือเส้นนี้คือบริเวณที่ฉีดยาได้
•  ต้นขาด้านข้าง ( vastus lateralis site ) ใช้ฝ่ามือวางที่ส่วนบนของเข่า อีกมือหนึ่งวางฝ่ามือต่ำกว่าส่วนต้นของ greater trochanter บริเวณที่ฉีดจะอยู่กึ่งกลางของกล้ามเนื้อมัดนี้คือต้นขาด้านข้าง
•  ต้นขาด้านหน้า ( rectus femoris site ) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของต้นขาบริเวณที่ใช้ฉีดคือตรงกลางของหน้าขา โดยแบ่งความยาวของต้นขาจากหัวเข่าถึงขาหนีบออกเป็น 3 ส่วน ฉีดตรงส่วนกลาง มักใช้ฉีดในเด็กเล็ก •  ต้นแขนใกล้ไหล่ ( deltoid site ) คือบริเวณที่ต่ำกว่ากระดูกหัวไหล่ลงมา (acromion process) ประมาณ 5 เซนติเมตร ( 2 นิ้ว ) หรือใช้นิ้ว 4 นิ้ววางที่กล้ามเนื้อหัวไหล่ ให้นิ้วที่หนึ่งอยู่บนปุ่มกระดูกหัวไหล่ บริเวณที่ฉีดคือส่วนที่ต่ำกว่าสามนิ้วมือลงมา
วิธีการฉีดยา
•  ตรวจสอบบันทึกการให้ยาให้ตรงกับคำสั่งการรักษา
•  หยิบยาให้ตรงกับบันทึกการให้ยา หรือการ์ดยา ตรวจสอบยายังไม่หมดอายุ
•  ล้างมือให้สะอาด
•  เตรียมยาฉีดตามจำนวนที่ต้องการโดยวิธีที่ถูกต้อง
•  ถามชื่อและนามสกุล โดยให้ผู้ป่วยเป็นผู้บอกชื่อและนามสกุลของตัวเอง
•  เลือกตำแหน่งที่ฉีดยา ที่ไม่มีการอักเสบ บวม แดง คัน มีแผลเป็นไตแข็ง หรือลักษณะเนื้อเยื่อถูกทำลาย เนื่องจากฉีดยาช้ำที่บ่อยs
•  เช็ดบริเวณที่ฉีดยา ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดจุดที่จะแทงเข็มหมุนออกเป็นวงกลมกว้าง 2 นิ้ว รอให้แห้ง
•  ถือกระบอกฉีดยา ให้ตั้งฉากกับพื้นในระดับสายตา ถอดปลอกเข็มออก
•  ไล่อากาศในกระบอกฉีดยาโดยถือกระบอกฉีดยาให้ตั้งตรงและค่อย ๆ ดันลูกสูบจนกระทั่งเห็นยาเข้าไปอยู่เต็มหัวเข็ม ตรวจสอบจำนวนยาให้ถูกต้อง จับกระบอกฉีดยาให้ถนัด
•  จับผิวหนังให้ตึง โดยยกขึ้นหรือดึงลง จับกระบอกฉีดยาให้ปลายตัดของเข็มหงายขึ้น แทงเข็มฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ ให้เข็มทำมุม 60 องศาในคนผอม และ 90 องศาในคนอ้วน และขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อที่จะฉีดด้วย แทงเข็มลึกประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว กล่าวคือ กล้ามเนื้อเล็กแทงเข็มตื้น กล้ามเนื้อใหญ่แทงเข็มได้ลึกกว่า
•  ดึงลูกสูบออกเล็กน้อย เพื่อทดสอบว่าปลายเข็มแทงถูกหลอดเลือดหรือไม่
•  ถ้าไม่พบเลือดในกระบอกฉีดยา ให้ดันยาเข้าไปช้า ๆ จนหมด
•  ใช้สำลีแห้งวางเหนือจุดแทงเข็ม ดึงเข็มออกโดยเร็วตามทิศทางเดียวกับที่แทงเข็ม เลื่อนสำลีกดรอยเข็ม
•  คลึงบริเวณที่ฉีดยาเบา ๆ ถ้ามีเลือดออกให้ใช้สำลีแห้งหรือก็อซกดไว้สักระยะจนกว่าเลือดจะหยุด
•  เก็บเครื่องใช้และทำความสะอาดให้ถูกวิธี
•  ลงบันทึกการให้ยา และบันทึกการพยาบาลเกี่ยวกับยา ขนาด วิถีทางและตำแหน่งที่ฉีดยารวมทั้งอาการผิดปกติภายหลังฉีดยาแล้ว